เทวทูต
หลักคำสอน
- หลักการศรัทธา
- หลักจริยธรรม
- หลักการปฏิบัติ
หลักศรัทธาอิสลามแนวท่านศาสดาที่เชื่อถือได้ (ซุนนีย์)
- ศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า
- ศรัทธาในบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ และนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตคนสุดท้าย
- ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะฮฺ บ่าวผู้รับใช้อัลลอฮฺ
- ศรัทธาในวันสิ้นสุดท้าย คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
- ศรัทธาในกฎสภาวะ หรือ สิ่งที่เป็นการกำหนด และเงื่อนไขการกำหนดจากพระผู้เป็นเจ้า
หลักการปฏิบัติ
ศาสนวินัย นิติศาสตร์และการพิพากษา
- วาญิบ คือหลักปฏิบัติภาคบังคับที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงทัณฑ์ เช่นการปฏิบัติตาม ฐานบัญญัติของอิสลาม (รุกน) ต่าง ๆ การศึกษาวิทยาการอิสลาม การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น
- ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้ามที่มุกัลลัฟทุกคนต้องละเว้น ผู้ที่ไม่ละเว้นจะต้องถูกลงทัณฑ์
- ฮะลาล คือกฎบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ อันได้แก่ การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง การค้าขายโดยสุจริตวิธี การสมรสกับสตรีตามกฎเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ เป็นต้น
- มุสตะฮับ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ซุนนะฮฺ (ซุนนะห์, ซุนนัต) คือกฎบัญญัติชักชวนให้มุสลิม และมุกัลลัฟกระทำ หากไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นการฝ่าฝืนศาสนวินัย โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการใช้น้ำหอม การขริบเล็บให้สั้นเสมอ การนมาซนอกเหนือการนมาซภาคบังคับ
- มักรูฮฺ คือกฎบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ แต่พึงละเว้น คำว่า มักรูหฺ ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า น่ารังเกียจ โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ การสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ขัดต่อกาลเทศะ เป็นต้น
- มุบาฮฺ คือสิ่งที่กฎบัญญัติไม่ได้ระบุเจาะจง จึงเป็นความอิสระสำหรับมุกัลลัฟที่จะเลือกกระทำหรือละเว้น เช่นการเลือกพาหนะ อุปกรณ์เครื่องใช้ หรือ การเล่นกีฬาที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติห้าม

- การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺและมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอหฺ
- ดำรงการละหมาด วันละ 5 เวลา
- จ่ายซะกาต
มโนทัศน์หลักมูลที่สุดของศาสนาแอสลาม คือ เอกเทวนิยมอย่างเคร่งครัด เรียก เตาฮีต (อาหรับ: توحيد) พระเป็นเจ้าพรรณนาในบทที่ 112 ของคัมภีร์อัลกุรอานว่า "จงกล่าวเถิด "พระองค์คืออัลลอฮฺ พระผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺนั้นทรงอิสระ พระองค์ไม่ทรงประสูติบุตร และไม่ทรงถูกประสูติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"" (112:1-4) มุสลิมและยิวบอกเลิกหลักตรีเอกานุภาพของคริสต์ศาสนิกชนและเทวภาวะของพระเยซู โดยเปรียบเทียบกับพหุเทวนิยม ในศาสนาอิสลาม พระเป็นเจ้าอยู่เกินความเข้าใจซึ้งใด ๆ และมุสลิมไม่คาดหวังเห็นพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าถูกพรรณาและอ้างถึงในหลายพระนามหรือลักษณะเฉพาะบางอย่าง ที่พบบ่อยที่สุดคือ อัร-เราะห์มาน (Al-Rahmān) หมายถึง "พระผู้ทรงเมตตา" และอัล-ราฮีม (Al-Rahīm) หมายถึง "พระผู้ทรงปรานี"
มุสลิมเชื่อว่าการสรรสร้างทุกสิ่งในเอกภาพถูกทำให้มีโดยพระโองการบริบูรณ์ของพระเป็นเจ้า "จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้นมา" และความมุ่งหมายของการดำรงอยู่คือเพื่อบูชาพระเป็นเจ้า มองว่าพระองค์เป็นพระเป็นเจ้าเฉพาะบุคคลซึ่งทรงสนองเมื่อใดก็ตามที่บุคคลต้องการหรือเป็นทุกข์เรียกหาพระองค์ ไม่มีคนกลาง เช่น นักบวช เพื่อติดต่อพระเป็นเจ้าซึ่งว่า "เรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นโลหิตชีวิตของเขาเสียอีก" มีกล่าวถึงธรรมชาติส่วนกลับในหะดีษกุดซีย์ "เราเป็นอย่างที่ผู้รับใช้ของเราคิด (คาด) ว่าเราเป็น"
อัลลอฮฺเป็นคำไม่มีพหูพจน์หรือเพศที่มุสลิมและคริสต์ศานิกชนและยิวที่พูดภาษาอารบิกอ้างถึงพระเป็นเจ้า ส่วน "อิเลาะห์" (อาหรับ: إله) เป็นคำที่ใช้กับเทวดาหรือเทพเจ้าโดยรวม
ดูบทความหลักที่: มลาอิกะฮ์
ความเชื่อในเทวทูตเป็นหลักมูลต่อศรัทธาศาสนาอิสลาม คำภาษาอารบิกสำหรับทูตสวรรค์ (อาหรับ: ملك) หมายถึง "ทูต" เหมือนคำเดียวกันในภาษาฮีบรู (malakh) และกรีก (angelos) ตามคัมภีร์อัลกุรอาน เทวทูตไม่มีเจตจำนงเสรี ฉะนั้นจึงบูชาและเชื่อฟังพระเป็นเจ้าโดยทำตามอย่างสมบูรณ์ กิจของเทวทูตมีการสื่อสารวิวรณ์จากพระเป็นเจ้า การเฉลิมพระเกียรติพระเป็นเจ้า การบันทึกทุกกิริยาของบุคคล และการเอาวิญญาณของบุคคลเมื่อถึงกาลมรณะ มุสลิมเชื่อว่าเทวทูตทำจากแสง พรรณนาว่าเทวทูตเป็น "ทูต มีปีก สองหรือสามหรือสี่ (คู่) [อัลลอฮฺ]ทรงเพิ่มในการสร้างตามที่พระองค์ทรงประสงค์..."
หลักคำสอนของศาสนาอิสลามแบ่งไว้ 3 หมวดดังนี้
สติปัญญาและสามัญสำนึกจะพบว่า จักรวาลและมวลสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ มิได้อุบัติขึ้นมาด้วยตัวเอง เป็นที่แน่ชัดว่า สิ่งเหล่านี้ได้ถูกอุบัติขึ้นมาโดยพระผู้สร้าง ผู้ทรงสูงสุดเพียงพระองค์เดียว ที่ไม่แบ่งภาค หรือแบ่งแยกเป็นสิ่งใด ไม่ถูกบังเกิด ไม่ถูกกำเนิด และไม่ให้กำเนิดบุตร ธิดาใดๆ ผู้ทรงสร้าง และบริหารสรรพสิ่งด้วยอำนาจและความรอบรู้ที่ไร้ขอบเขต ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ที่โดยทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไว้ทั่วทั้งจักรวาลหรือที่เข้าใจว่าเป็น"กฎธรรมชาติ" ทรงขับเคลื่อนจักรวาลด้วยระบบที่ละเอียดอ่อน มีเป้าหมาย ซึ่งไม่มีสรรพสิ่งใดถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้สาระ
พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างประเสริฐจะเป็นไปได้อย่างไร ที่พระองค์จะปล่อยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ไปตามลำพัง โดยไม่ทรงเหลียวแล หรือปล่อยให้สังคมมนุษย์ และสิ่งมีชีวิต กำเนิดขึ้น แล้วดำเนินไปตามยถากรรมของตัวเอง สภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่จึงเป็นความพอดีอย่างทีสุดที่ผู้ใช้ปัญญา ไม่สามารถอธิบายได้ด้วย"ความบังเอิญ" สอดคล้องตามทฤษฎีความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์
พระองค์ทรงขจัดความสงสัยเหล่านี้ ด้วยการประทานกฎการปฏิบัติต่าง ๆ ผ่านบรรดาศาสดา ให้มาสั่งสอนและแนะนำมนุษย์ไปสู่การปฏิบัติ สำหรับการดำเนินชีวิต แน่นอนมนุษย์อาจมองไม่เห็นผล หรือได้รับประโยชน์จากการทำความดี หรือได้รับโทษจากการทำชั่ว ของตนในชีวิตบนโลกนี้ ที่เป็นเพียงโลกแห่งการทดสอบ โลกแห่งการตอบแทนที่แท้จริงยังมาไม่ถึง
พื้นที่เกาะยาว
เกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137.6 ตร.ม. โดยประกอบด้วย 2 เกาะหลักๆ คือ เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ และเกาะต่างๆ รายล้อมอีกมากมาย ชายหาดส่วนใหญ่ของเกาะยาวน้อยตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตก ถ้าคุณมาจากท่าเรือมาเนาะ ผ่านที่ว่าการอำเภอมาประมาณ 7 กิโลเมตร ท่านจะได้พบกับ หาดป่าทราย ซึ่งเป็นชายหาดที่ยาว 400 เมตร และจากที่นี่ คุณสามารถชมทิวทัศน์ของเกาะผักเบี้ย เกาะห้อง และชมความสวยงามของพระอาทิตย์ขึ้นได้อย่างสวยงาม
ถัดไปทางเหนือของหาดป่าทราย คือ หาดคลองชักและ หาดท่าเขา เป็นหาดที่เต็มไปด้วยหินมากมาย ถ้าหากเดินไปทางเหนือของเกาะคุณจะได้พบกับ อ่าวเคียน ซึ่งมีลักษณะเป็นชายหาดแนวโค้งเว้า มีความยาวประมาณ 50 เมตร กับท้องทะเลสีคราม เหมาะแก่การว่ายน้ำอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถเดินทางไป อ่าวเคียน ได้แค่ทางเรือเท่านั้น
ณ ที่นี่นี่เอง ที่นักท่องเที่ยวจะสามารถสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตของผู้คนบนเกาะยาวน้อย ซึ่งมีอาชีพทำนาและประมงเสียส่วนใหญ่
ภาคใต้ของประเทศไทยนับได้ว่าเป็นศูนย์กลางในเรื่องการทำการประมง ดังนั้นคุณสามารถที่จะจับปลาหรือกุ้งสดๆ เพื่อใช้ในการทำอาหารเย็นได้เลย ในขณะเดียวกัน ถนนที่ภาคใต้ของประเทศไทย ก็กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็น ถนนสายสุขภาพ ซึ่งคนส่วนใหญ่ชอบที่จะมาวิ่งจ็อกกิ้งและเล่นกีฬากันที่นี่
นอกจากนี้ จากเกาะยาวน้อย ท่านสามารถเดินทางไปที่เกาะต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ได้อย่างสะดวก ซึ่งหลังจากการสำรวจเกาะนี้อย่างละเอียดเรียบร้อยแล้ว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จะยังคงแวะไปที่เกาะเหลาไบเล หรือ เกาะห้อง ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยตำรวจท้องถิ่นของอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี สำหรับผู้ที่ต้องการดูหาดทรายที่งดงาม และแนวปะการัง ท่านไม่ควรพลาด ที่จะแวะไปที่เกาะเหลาฮุนดู และ เกาะผักเบี้ย


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น